อัพเดทข่าวสาร > สาระน่ารู้ > การใช้ การบำรุงรักษาเครื่องมือ และอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่มีความเสี่ยงสูง

อัพเดทเมื่อ : 19 มกราคม 2560

ปัจจุบันสถานพยาบาล ได้นำมาตรฐานบริการสาธารณสุขไปใช้ ภายใต้การส่งเสริมพัฒนาของกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ เพื่อพัฒนาด้านการให้บริการสุขภาพ เครื่องมือ และอุปกรณ์ทางการแพทย์ เป็นส่วนที่มีความสำคัญมากในการบริการ หากผู้ใช้ได้มีการใช้งานอย่างถูกต้องและมีการบำรุงรักษาที่ถูกวิธี จะทำให้มีอายุการใช้งานนานขึ้น และสร้างความมั่นใจในการจัดการด้านมาตรฐานและคุณภาพให้ บริการแก่ประชาชน

 

การจำแนกเครื่องมือแพทย์ระดับสากล

  1. ประเภทความเสี่ยงสูง :เครื่องมือแพทย์ใดๆก็ตามที่ใช้รักษา วินิจฉัย ติดตามเฝ้าระวังหรือเพื่อการกายภาพ หากขณะใช้กับผู้ป่วยแล้วเครื่องมือมีอาการผิดปกติหรือการใช้ผิดพลาด ผู้ใช้เครื่องไม่สามารถเข้าไปขัดขวางหรือให้การช่วยเหลือได้ทีนทีอาจทำให้ผู้ป่วยได้รับอันตรายหรืออาการป่วยเพิ่มมากขึ้น
  2. ประเภทความเสี่ยงกลาง :เครื่องมือแพทย์ใดๆก็ตามที่ใช้รักษา วินิจฉัย ติดตามเฝ้าระวังหรือเพื่อการกายภาพบำบัดหากใช้กับผู้ป่วยแล้วเครื่องมือมีการผิดปกติหรือการใช้ผิดพลาดผู้ใช้เครื่องยังสามารถเข้าไปขัดขวางหรือตรวจสอบได้ก่อนที่ผู้ป่วยจะได้รับอันตราย
  3. ประเถทความเสี่ยงต่ำ: เครื่องมือที่ใช้การวินิจฉัยเสียเป็นส่วนใหญ่และไม่ส่งผลใดๆกับผู้ป่วยโดยตรง ผู้ใช้เครื่องสามารถบ่งถึงความผิดปกติจากการใช้เครื่องได้

 

High risk Equipment Lists

.Anesthesia units                                   . Fetal monitors

. Anesthesia ventilator                            . Electrosurgical units

. Apnea monitors                                    . Incubators

. Aspirators                                            . Infusion pump

. Auto transfusion unit                             . Pulse oximeters

. Invasive Blood pressure units                . External pacemaker

. Heart lung machine

 

สถาบันที่ดูแลเครื่องมือแพทย์

.  U.S. food and drug Administration (FDA)ทำหน้าที่ศูนย์เครื่องมือแพทย์เรียกคืนเครื่องมือที่ไม่ได้มาตรฐาน

.  ECRI แหล่งรวบรวมข้อมูลรายงานอุยัติการณ์เกี่ยวกับเครื่องมือแพทย์

.  AAMI สถาบันควบคุมผู้ผลิต

.  JCI เขียนมาตรฐานเครื่องมือแพทย์

 

ในส่วนของประเทศไทย ใช้พระราชบัญญัติเครื่องมือแพทย์ พ.ศ.2551 ออก ณ วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2551 และ พระราชบัญญัติความรับผิดชอบต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย พ.ศ. 2551 ออก ณ วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2551

 

กลยุทธ์การบำรุงรักษาและการสอบเทียบ

วัตถุประสงค์ของการสอบเทียบ

. เพื่อตรวจสอบความเที่ยงตรงของเครื่องมือ

. เพื่อบรรลุข้อกำหนดมาตรฐานของโรงพยาบาลที่เกี่ยวข้องกับเครื่องมือ

. เพื่อประโยชน์สูงสุดในการใช้เครื่องมือ

. เพื่อแก้ค่าที่ผิดพลาดในการใช้เครื่องมือ

 

ประโยชน์ที่ได้รับจากการสอบเทียบ

. ลดความเสี่ยงต่อผู้ป่วยในการใช้เครื่องมือที่ขาดความถูกต้อง

. มีความรวดเร็วในการวินิจฉัยหรือรักษา

. เครื่องมือมีมาตรฐานการใช้งานอย่างต่อเนื่อง

. ผู้ใช้มีความมั่นใจในการใช้เครื่องมือ

. โรงพยาบาลมีมาตรฐานการให้บริการด้านเครื่องมือ

 

ประเภทของการสอบเทียบ

  1. สอบเทียบพร้อมการปรับแต่ง(ทั้งก่อนปรับและหลังปรับ)
  2. สอบเทียบอย่างเดียวโดยไม่มีการปรับแต่ง
  3. ปรับแต่งและสอบเทียบ(รายงานหลังปรับแต่งอย่างเดียว)

 

อุปกรณ์การแพทย์ที่จำเป็นต้องสอบเทียบ

.  เครื่องมือที่มีผลต่อการให้บริการ

.  เครื่องมือที่บ่งบอกเป็นตัวเลข

.  เครื่องมือที่บ่งบอกต่อการวินิจฉัย

.  เครื่องมือไฟฟ้า/อิเล็คทรอนิคส์

 

หลักการวัด

.  ความถูกต้อง

.  แม่นยำ(Accuracy)

.  เที่ยงตรง(Precision)

 

การพิจารณานำค่าในใบcerificateไปวิเคราะห์ผลการสอบเทียบ

    ให้ตรวจดูว่าค่าผิดพลาดของเครื่องมือในใบ certificate สามารถยอมรับได้หรือไม่ (ค่าการยอมรับทางผู้ใช้กำหนดค่ายอมรับเอง) ถ้ายอมรับไม่ได้ก็ไม่จำเป็นต้องนำค่า error ไปใช้ ถ้ายอมรับไม่ได้ก็ให้นำเครื่องไปแก้ไข หรือใช้ค่าแก้

 

การกำหนดหมายเลขID

ตังอย่างการทำ ID เช่น BP-OPD-012-MC

             BP                :             ชื่อเครื่อง

             OPD              :             หน่วยงานที่ใช้

             012               :             ลำดับรายการ

             MC                :             บำรุงรักษา,สอบเทียบ

 

ขอบคุณข้อมูลจาก gotoknow.org